LPG (Liquefied Petroleum Gas) เป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว มาจากก๊าซบิวเทน ผสมกับ ก๊าซโพรเพน หรือนิยมเรียกว่า ก๊าซหุงต้ม
ก๊าซ LPG ที่ใช้มาจากไหนบ้าง ?
ก๊าซ LPG ที่ใช้ในประเทศมาจาก 3 แหล่งสำคัญ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ภาพรวมพลังงาน มค. - มีค. 64 โรงแยกก๊าซธรรมชาติ (57%) : ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเมื่อเข้ากระบวนการแยกก๊าซได้เป็นก๊าซฯต่าง ๆ มากมาย อาทิ ก๊าซมีเทน ก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน ก๊าซบิวเทน เป็นต้น เมื่อเราผสมก๊าซโพรเพนและก๊าซบิวเทนเข้าด้วยกัน จะได้เป็นก๊าซ LPG โรงกลั่นน้ำมัน(37%) : เมื่อนำน้ำมันดิบมาให้ความร้อน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจะถูกแยกออกไปตามจุดเดือด ซึ่งก๊าซ LPG จัดเป็นน้ำมันชนิดเบา จะถูกแยกออกมาเป็นอันดับแรก โดยLPG ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบนั้นมีต้นทุนราคาสูงกว่าโรงแยกก๊าซฯ เพราะคิดตามราคาน้ำมันดิบที่เกือบทั้งหมดที่ใช้อยู่ร่วมๆ 90% ในประเทศไทยต้องนำเข้า ที่ขุดได้เองจากแหล่งลานกระบือ และน้ำพองนั้นเป็นเพียงเล็กน้อย นำเข้าจากต่างประเทศ(6%) : นำเข้าเมื่อการผลิตก๊าซ LPG ในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือนำเข้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน สร้างรายได้เข้าประเทศ
อ้างอิงจากราคา LPG Cargo ซึ่งป็นราคาซื้อขายรายวันในตลาดโลกนำมาเฉลี่ยรายสัปดาห์เพื่อสะท้อนราคาซื้อขายจริงระหว่างเดือนมากขึ้นสุดคล้ายกับตลาดน้ำมัน ซึ่งสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะประกาศราคาแนะนำผ่านเว็บไซต์และมีกลไกติดตามสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิด ขณะที่กรมการค้าภายในจะทำหน้าที่ดูแลราคาขายปลีกให้เหมาะสม โดยหากเกิดความผันผวนด้านราคา รัฐบาลจะมีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภค