คำถามที่พบบ่อย

1.
ประเทศไทยก็มีก๊าซธรรมชาติ ทำไมต้องนำเข้ามาอีก ?
<p>เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณความต้องการการใช้ก๊าซธรรมชาติสูง มากกว่าความสามารถในการผลิตได้เองในประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาเพิ่มเติม โดยสัดส่วนการผลิตได้เองคิดเป็น &nbsp;70% และนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านและ LNG อีก 30% &nbsp;อย่างไรก็ตาม ปริมาณสำรองของก๊าซฯในอ่าวไทยนั้น มีปริมาณลดลงตามสัดส่วนที่นำมาใช้ จนกว่าจะค้นพบแหล่งก๊าซฯ ใหม่เพิ่มเติม ซึ่งประเทศไทยจึงต้องสรรหาเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานและเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต</p>
2.
ปตท.มีการบริหารจัดการคุณภาพก๊าซอย่างไร ?
<p>เมื่อก๊าซฯในอ่าวถูกส่งผ่านทางท่อมาแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการแยกก๊าซฯ เพื่อแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและแยกสิ่งเจือปนออก เช่น ฝุ่นผงต่างๆ ความชื้น สารปรอท และคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อปรับคุณภาพก๊าซให้อยู่ในกรอบคุณภาพที่ กกพ. กำหนด </p>
3.
ค่า Wobbe Index แต่ละโซน เท่ากันหรือไม่
<p>ค่าดัชนี Wobbe (WI) ของก๊าซธรรมชาติ ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน แบ่งเป็น&nbsp;</p><ul style="list-style-type: disc;"><li>ฝั่งตะวันออก ได้แก่ โซนระยอง มีค่า ๑,๒๒๐ - ๑,๓๔๐ บีทียูต่อลูกบาศก์ฟุตมาตรฐาน (BTU/scf) และโซนขนอม มีค่าระหว่าง ๙๒๐ - ๑,๑๖๕ บีทียูต่อลูกบาศก์ฟุตมาตรฐาน (BTU/scf)&nbsp;</li><li>ฝั่งตะวันตก มีค่ำระหว่าง ๙๖๐ - ๑,๐๖๐ บีทียูต่อลูกบาศก์ฟุตมาตรฐาน (BTU/scf)</li></ul>
4.
ปตท.มีแนวทางในการบริหารความปลอดภัยของการส่งก๊าซอย่างไร ?
<p>การจัดส่งก๊าซธรรมชาติโดยศูนย์ควบคุมการส่งก๊าซธรรมชาติ ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. มีการดำเนินการบริหารความปลอดภัยดังนี้</p><p>1. ระบบควบคุมอัตโนมัติพร้อมพนักงาน (SCADA : Supervisory Control and Data Acquisition)ควบคุมดูแล ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อตรวจสอบ ใช้ในการเฝ้าสังเกตปัจจัยที่จำเป็นเช่น ความดัน อุณหภูมิ อัตราการไหล เพื่อความปลอดภัยและจัดส่งก๊าซฯได้ตามที่ออกแบบไว้เพื่อความปลอดภัยสูงสุด</p><p>2. สถานีควบคุมตลอดแนวท่อ (Block Valve) สำหรับตรวจสอบข้อมูล ความดัน อุณหภูมิ ความหนาแน่น และปริมาณการไหลของก๊าซฯเป็นระยะๆตลอดแนวท่อ</p><p>3. PIG (Pipeline Inspection Gauge) กระสวยอัจฉริยะ : เพื่อตรวจสอบสภาพภายในท่อตลอดแนวพร้อมบันทึกข้อมูลก่อนนำมาวิเคราะห์ผล สามารถระบุพิกัดและคาดการณ์จุดที่จะเสียหายก่อนล่วงหน้าได้</p><p>4. รถยนต์/โดรน/ตรวจสอบ : ตามแนวท่อเพื่อสังเกตดูร่องรอยและสภาพแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลง</p>
5.
ก๊าซฯในประเทศจะเหลือใช้อีกกี่ปี ?
<p>จากข้อมูลจากรายงานประจำปี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะมีปริมาณ ใช้ได้อีก 8 ปี ทั้งนี้ ขึ้นกับปริมาณการใช้ และการค้นพบแหล่งก๊าซฯ ใหม่</p>
6.
ค่าไฟแพงเพราะ ปตท. จริงหรือไม่ ?
<p>ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยโดยราคาจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ ของ ปตท. มีการกำกับควบคุมโดย กกพ. ตาม พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน ซึ่ง ปตท. ดำเนินจัดหาก๊าซฯจากแหล่งต่างๆตามราคาตลาดโลกโดยมีการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อให้ได้ราคาต่ำที่สุดเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อภาคการผลิตไฟฟ้า</p>
7.
ปตท. ผูกขาดก๊าซธรรมชาติจริงหรือไม่ ?
<p>การพัฒนาแหล่งก๊าซฯในระยะแรกเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีการลงทุนค่อนข้างสูง ทั้งโรงแยกก๊าซ ท่อส่งก๊าซฯ ทำให้มีความเสี่ยงสูง จึงไม่มีเอกชนลงทุน ภาครัฐเลยมอบหมายให้ ปตท. ดำเนินการลงทุนเพื่อความมั่นคงของประเทศ ปัจจุบันเมื่อเอกชนมีความพร้อม ภาครัฐจึงดำเนินการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติในระยะที่ 2 ทำให้เอกชนสามารถนำเข้ามาได้เอง ปัจจุบันมีผู้ที่สามารถนำเข้าก๊าซฯอยู่ที่ 7 รายประกอบด้วย</p><ol style="box-sizing: border-box; padding: 0px; margin-bottom: 26px; color: rgb(34, 34, 34); font-family: poppins-regular-webfont; font-size: 15px; font-style: normal; font-variant-ligatures: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: 2; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; background-color: rgb(255, 255, 255); text-decoration-thickness: initial; text-decoration-style: initial; text-decoration-color: initial;"><li style="box-sizing: border-box; line-height: inherit; margin-left: 21px; font-family: Georgia, serif; margin-bottom: 10px; color: rgb(84, 172, 210);">การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)</li><li style="box-sizing: border-box; line-height: inherit; margin-left: 21px; font-family: Georgia, serif; margin-bottom: 10px; color: rgb(84, 172, 210);">บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)</li><li style="box-sizing: border-box; line-height: inherit; margin-left: 21px; font-family: Georgia, serif; margin-bottom: 10px; color: rgb(84, 172, 210);">บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด</li><li style="box-sizing: border-box; line-height: inherit; margin-left: 21px; font-family: Georgia, serif; margin-bottom: 10px; color: rgb(84, 172, 210);">บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด</li><li style="box-sizing: border-box; line-height: inherit; margin-left: 21px; font-family: Georgia, serif; margin-bottom: 10px; color: rgb(84, 172, 210);">บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก</li><li style="box-sizing: border-box; line-height: inherit; margin-left: 21px; font-family: Georgia, serif; margin-bottom: 10px; color: rgb(84, 172, 210);">บริษัท PTT Global LNG Company Limited หรือ PTTGL</li><li style="box-sizing: border-box; line-height: inherit; margin-left: 21px; font-family: Georgia, serif; margin-bottom: 0px; color: rgb(84, 172, 210);">บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG</li></ol>
8.
ค่าไฟ ใครกำหนด
<p>คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นหน่วยงานกำกับควบคุม ตาม พรบ. การประกอบกิจการพลังงาน ซึ่ง ปตท. ดำเนินการจัดหาก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีการวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้ได้ราคาต่ำที่สุด ปริมาณที่เพียงพอ และไม่กระทบต่อภาคการผลิตไฟฟ้า</p>
จำนวนครั้งที่เข้าชม
2
2
0
1
1
9
2